“ปั้นมอญ” นิทรรศการจัดแสดงวิถีชีวิตชาวมอญในสยาม
โดย นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์
หลักการและเหตุผล
ด้วยเหตุที่หลักสูตรการพัฒนาชุมชน
ได้มีการนำนักศึกษาในหลักสูตรลงฝึกทำงานภาคสนามเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการเรียนรู้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในหัวข้อการศึกษาที่มีการดำเนินการทุกปีคือเรื่องชาวมอญในประเทศไทย
โดยแรกเริ่มได้มีการลงฝึกภาคสนาม ณ ชายแดนสังขละบุรี เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชาวมอญตั้งแต่ปี
๒๕๕๔ จากนั้นได้มีโครงการให้นักศึกษาชั้นปีต่อๆ มาลงเก็บข้อมูลภาคสนามมอญสามโคก
ปทุมธานี โดยได้รับความเอื้อเฟื้ออย่างดียิ่งจากศิษย์เก่าพัฒนาชุมชน
ลูกหลานชาวไทยรามัญสามโคก มีการตามรอยชาวมอญในประเทศไทยไปถึงบ้านเขาทอง นครสวรรค์ และพบปะเยี่ยมเยือนชาวมอญหริภุญไชย
ในลำพูน
ในภาคการศึกษา ๑/๒๕๕๙ นี้
นักศึกษาพัฒนาชุมชนได้ช่วยกันลงเก็บข้อมูลภาคสนามบ้านมอญเก่าแก่อีกสามแห่งคือ
มอญบางปะอิน หรือ มอญอโยธยา ณ บ้านเสากระโดง บางปะอิน และมอญบ้านม่วง ณ บ้านโป่ง
ราชบุรี รวมไปถึงมอญเกาะเกร็ด นนทบุรี
องค์ความรู้ที่นักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาชุมชนได้รวบรวมสะสมไว้นี้
ได้ก่อร่างสร้างขึ้นเป็นนิทรรศการ ด้วยการให้นักศึกษาเป็นช่างปั้น
ขึ้นรูปองค์ความรู้เรื่องชาวมอญทีละเล็กทีละน้อย
ปั้นแต่งขัดเกลาให้ถูกต้องตามจริงด้วยความพากเพียร
สลักเสลาประดับประดาวิธีนำเสนอด้วยความคิดสร้างสรรค์
มาเป็นการจัดแสดงชุดความรู้ที่เผยให้เห็นวิถีแห่งความเป็นมอญที่อยู่ร่วมกับความเป็นไทยมาอย่างยาวนานและงดงาม
ในนิทรรศการ “ปั้นมอญ”
วัตถุประสงค์
๑.
เพื่อนำเสนอความรู้เรื่องชาวมอญหรือชาวไทยรามัญในประเทศไทย
๒. เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการเป็นนักวิจัยท้องถิ่นแก่นักศึกษาการพัฒนาชุมชน
วัน เวลา และสถานที่จัดแสดง
ระหว่างวันที่ ๒๕-๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ในเวลาราชการ
ณ ชั้น ๔ หน้าห้องฝึกปฏิบัติการพัฒนาชุมชน
และทางโซเชียล มีเดีย
YouTube Channel : cdvru wepost
Facebook : cdvru wepost
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น