ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม
อาณาจักรสุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง ๕๘ พระองค์ เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา
มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหา เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ทั้งอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรสะเทิม
ยุคแรกสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม
ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหา
ในตำนานการสร้างเมืองหงสาวดีได้ให้รายนามกษัตริย์ที่ครองกรุงหงสาวดีก่อนสมัยพระเจ้าฟ้ารั่ว
แต่ไม่มีเอกสารยืนยันความถูกต้องแน่นอน พระนามกษัตริย์ที่ระบุไว้มีดังนี้
๑. พระเจ้าสามะละ
(Thamala) ครองราชย์ปี พ.ศ. ๑๓๖๘
๒. พระเจ้าวะละ
(Wimala) ครองราชย์ปี พ.ศ. ๑๓๘๐
๓. พระเจ้าอะสะ
(Atha) ครองราชย์ปี พ.ศ. ๑๓๙๗
๔. พระเจ้าอรินทมะ
(Areindama) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๔๐๔
๕. ภิกษุไม่ทราบชื่อ
ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๔๒๘
๖. พระเจ้าเคอินทะ
(Geinda) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๔๔๕
๗. พระเจ้ามิคาทีปะ
(Migadeippagyi) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๔๖๐
๘. พระเจ้าเคอิศศะทิตย์
(Geissadiya)
ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๔๗๕
๙. พระเจ้ากรวิก
(Karawika)
ครองราชย์ปี พ.ศ. ๑๔๘๕
๑๐. พระเจ้าปยินจะละ
(Pyinzala)
ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๔๙๗
๑๑. พระเจ้าอัตตะสะ
(Attatha)
ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๕๑๐
๑๒. พระเจ้าอนุยะมะ
(Anuyama) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๕๒๕
๑๓. พระเจ้ามิคาทีปะ
( Migadeippange) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๕๓๗
๑๔. พระเจ้าเอกะสะมันต์
(Ekkathamanta) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๕๔๗
๑๕. พระเจ้าอุบล
(Uppala) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๕๕๙
๑๖. พระเจ้าบุณฑริก
(Pontarika) ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๕๗๑
๑๗. พระเจ้าดิศศะ
(Tissa)
ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๕๘๖
กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงแห่งราชวงศ์ชาน-ตะเลง
(Shan
– Talaing, พ.ศ. ๑๘๓๐ – ๒๐๘๗) ได้แก่
พระเจ้าฟ้ารั่ว
หรือ วาเรรุ (Wareru พ.ศ. ๑๘๓๐ – ๑๘๕๖) พระนามเดิม มะกะโท ได้กอบกู้เอกราชแห่งอาณาจักรมอญ
และสถาปนาราชวงศ์ชาน-ตะเลง
พระเจ้าราชาธิราช (Razadarit
พ.ศ.๑๙๒๘ – ๑๙๖๖)
เป็นผู้รวบรวมอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่างทั้งหมดเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันเป็นครั้งแรก
พระยาวารุ
(Binnyawaru
พ.ศ.๑๙๘๙ – ๑๙๙๓) ผู้มีชื่อเสียงในด้านการปกครองโดยเที่ยงธรรม
พระเจ้าธรรมเจดีย์
(Dammazedi
พ.ศ. ๒๐๑๕ – ๒๐๓๙) ทรงเป็นนักปกครองที่ดี
และได้ปฏิรูปพุทธศาสนาในอาณาจักรมอญทั้งด้านพิธีกรรมและวินัยสงฆ์
ยุคที่สามคือ ยุคฟื้นฟู (Restored
Hanthawaddy Kingdom)
พ.ศ. ๒๒๘๓ สมิงทอพุทธิเกศ กู้เอกราชคืนมาจากพม่าได้สำเร็จ
และได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะ
พ.ศ. ๒๒๙๐ พระยาทะละ
ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง
ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง
พ.ศ. ๒๓๐๐ พระเจ้าอลองพญากู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้
ทั้งยังได้โจมตีมอญ กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญคือ พระเจ้าพญามองธิราช
มอญตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่าจนกระทั่งทุกวันนี้
เรื่องราวของพระเจ้าฟ้ารั่ว ปรากฏอยู่ในพงศาวดารรามัญที่เล่าไว้ในราชาธิราช…
พระเจ้าฟ้ารั่วเดิมชื่อ มะกะโท
เป็นบุตรพ่อค้าบ้านเกาะวาน อยู่ที่เมืองเมาะตะมะ เมื่ออายุได้ราว ๑๕ ปี บิดาถึงแก่กรรมจึงได้เป็นพ่อค้าแทนบิดา
คุมลูกค้า ๓๐ คนไปค้าขายที่เมืองสุโขทัย
เมื่อไปถึงเกิดนิมิตหลายประการที่แสดงว่ามะกะโทจะได้เป็นใหญ่
แต่ต้องไปอาสาทำราชการกับกษัตริย์ทางทิศทางตะวันออกคือสมเด็จพระร่วงเจ้า
หรือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทจึงไปอาศัยอยู่กับนายช้าง
พยายามทำงานด้วยความอุตสาหะ ต่อมาสมเด็จพระร่วงเจ้าเสด็จมาพบ
ทรงพอพระทัยในความฉลาดและความพากเพียรของมะกะโทจึงโปรดให้มารับใช้ใกล้ชิดและมีพระเมตตาชุบเลี้ยงดุจดังบุตร
ในที่สุดทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็นขุนวัง
ขณะที่สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงกรีธาทัพไปปราบกองทัพแขกชวาที่เข้ามาตีหัวเมือง
มะกะโทซึ่งผูกพันรักใคร่กับนางเทพสุดาสร้อยดาวพระธิดาของสมเด็จพระร่วงเจ้า
ได้พานางหนีไปเมืองเมาะตะมะ เมื่อไปถึงเขตแดนต่อแดน
มะกะโทหันกลับมากราบถวายบังคมแล้วเขียนฉลากขอพระราชทานอภัยโทษไว้ สมเด็จพระร่วงเจ้าก็มิได้ทรงพิโรธ
แต่กลับประสาทพรแก่มะกะโท ต่อมามะกะโทได้ครองเมืองเมาะตะมะเพราะมีชัยชนะต่ออลิมามาง
เจ้าเมืองเมาะตะมะ ซึ่งคิดจะฆ่ามะกะโท ขณะเตรียมการจะขึ้นครองเมืองและเตรียมสร้างปราสาทนั้น
มะกะโทระลึกถึงสมเด็จพระร่วงเจ้าซึ่งเป็นเจ้านายที่เคยชุบเลี้ยงตนมา
จึงให้คนนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อขอพระนามและเครื่องราชกกุธภัณฑ์เพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่ตนเองและพระมเหสี
สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงมีพระราชดำริว่า
มะกะโทมีบุญดุจหนึ่งว่าตกลงมาจากฟ้า จึงพระราชทานนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว และพระราชทานเศวตฉัตร มงกุฎ พระขรรค์
พัดวาลวิชนี ฉลองพระบาททองและเครื่องราชบริโภคจำนวนมาก มะกะโทได้รับสิ่งของพระราชทานแล้วก็จัดพิธีราชาภิเษกรับพระนามว่า
พระเจ้าฟ้ารั่ว ขึ้นครองเมืองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งเมืองเมาะตะมะ
หลังจากนั้นสมเด็จพระร่วงเจ้าได้พระราชทานช้างเผือกชื่อ
พระยาเศวตมงคลคชสารศรีเมือง ซึ่งเสี่ยงทายแล้วต้องการมาอยู่เมืองเมาะตะมะ
ยังความโสมนัสมาสู่พระเจ้าฟ้ารั่วเป็นอย่างยิ่งถึงกับเสด็จไปรับช้างด้วยตนเองที่เมืองแปร
พระเจ้าฟ้ารั่วเสวยราชสมบัติในเมืองเมาะตะมะอยู่ราว
๒๖ ปี จึงเสด็จสวรรคต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น